
อัสสัมชัญ อุโฆษสมัย (Echo de L'Assomption)
หนังสือรวมบทความต่าง ๆ ในโรงเรียน และในสังคม สะท้อนให้เห็นวิสัยทัศน์ ความคิดของชาวอัสสัมชัญ และสังคมไทย ณ ขณะนั้น เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ในการทำหนังสือ และมีสังฆราชเรอเน แปร์โรสเป็นบรรณาธิการ อัสสัมชัญ อุโฆษสมัยตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1913 ในระยะแรกจัดพิมพ์ปีละ 4 เล่ม ก่อนปรับลดลงเหลือ 3 และ 2 เล่ม จนยุติไปเมื่อปี ค.ศ 1941 เนื่องจากไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2
ในเล่มนี้ประกอบไปด้วย
"ให้ยิ่งทำดีขึ้นทุกวัน"
โดยชุมภาบาล
หน้า 161
เขียนว่า...ในหนังสือพระมรรคามีคำเปรียบเทียบว่า "ชีวิตมนุษย์เราในแผ่นดินนี้ สั้นหนักหนา เปรียบประดุจหนึ่ง ดอกไม้ที่บานอยู่ เวลาเช้า พอตกเย็น ตกค่ำก็เหี่ยวแล้ว" เมื่อทราบว่าชีวิตเราสั้นนักหนาเช่นนี้แล้ว ถ้าใครยังจะทำให้เปลืองเวลา มัวหาแต่ความสนุกสบายฝ่ายเดียวเท่านั้น ผู้นั้นยังจะสมควรมีชื่อว่า เป็นมนุษย์ ผู้มีสติปัญญาหรือ?
"ประโยชน์ของการเรียนภาษาต่างประเทศ"
โดย ปณรสี
หน้า 135
เขียนว่า...คนเราทุกชาติทุกภาษาย่อมพากันมีความเกี่ยวข้องทั่วไปหมดเพื่อได้พูดจากัน ส่วนประโยชน์ของการใช้ภาษาต่างประเทศนั้นย่อมกว้างขวางมาก สำหรับการค้าขาย การเจริญสัมพันธไมตรีของประเทศต่างๆอาจจะนำมาซึ่งความศิวิลัยแห่งบ้านเมือง เมื่อผู้ใดรู้จักหลายภาษาได้ ทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้นมากกว่าได้อ่านแต่หนังสือในภาษาของตนอย่างเดียว ฉนั้นการรู้ภาษาต่างประเทศนับว่าเปนลาภอย่างวิเศษอันพึงจะหาได้ในการศึกษา
"อัสสัมชัญสภา"
โดย ชิณเชษฐ์
หน้า 146
เขียนว่า...ท่านเจษฏาจารย์ อัสสัมชัญ ท่านช่างเพียรจัดการ คือ
1. โรงเรียนได้ตั้งสอนกลางคืน ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศษ สำหรับนักเรียนที่ออกแล้ว แต่อยากเรียนต่อไปอีก จะได้มาเรียนเมื่อเลิกงาน
2. ตั้งให้มีเล็กเชอร์ ภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนชั้นสูง และนักเรียนที่ออกใหม่ๆ หัดแก้ปัญหาพูดโต้ตอบใช้ภาษาต่างประเทศแคล่วคล่องว่องไว
3. ตั้งสภา "อัสสัมชัญยังแม็น" สำหรับให้นักเรียนออกใหม่ มีโอกาศรื่นเริงบรรเทิงใจด้วยกัน และคบหาสมาคมกับนักเรียนเก่าๆ ที่เปนผู้ใหญ่ รู้ขนบธรรมเนียมของโลก และการงานต่างๆ แล้ว
4. ตั้งสภานักแต่งชื่อ "อัสสัมชัญอาคาเดมี" รับสมาชิก เอก โท ตรี สำหรับนักเรียนที่ยังเรียนอยู่และผู้ที่ออกไปแล้ว ได้มีโอกาสหัดแต่งเรื่องราว ให้มีโวหารสำนวนน่าชวนอ่าน
5. ตั้ง "แมคาซีน" ชื่อ "อัสสัมชัญอุโฆษสมัย" สำหรับลงข่าวคราวแห่งโรงเรียน และสภาต่างๆเหล่านี้ จะได้รู้ทั่วถึงกันได้
กิจการห้าข้อ ซึ่งกล่าวมา เปนกิจการน่าสรรเสริญหรือไม่?
"ขโมยๆ !! โปลิศ!!"
โดยภราเทอร์
หน้า 152
เขียนว่า...นักเรียนอัสสัมชัญหลายคนกำลังเล่นทราย จับหอย ปูอยู่ตามชายทะเลอ่างศิลายังไม่ทันได้ตัว ก็พอดีได้ยินเสียงร้องเรียกปากคอสั่นว่า "โขมย!...โปลิศ!...น้อยโว้ย!...ของนายฟักที่นายน้อยเข้าใจว่า นายฟักไปในป่าแสมนั้น เกิดความเข้าใจผิด จริง ๆ แล้วเปนเสียงชาวป่า เขากู่เรียกกันว่า "ขำโว้ย! พ่อนิด! พ่อนิด" หรือมิฉนั้น ก็คำที่คล้าย ๆ กับคำนี้นั่นเอง
"สุภาสิตประหยัดทรัพย์"
โดย สินธูน้อย
หน้า 157
เขียนว่า...ซื้อของไม่จำเปนวันนี้จะต้องขายของที่จำเปนพรุ่งนี้
"ทางฉิบหาย 7 ประการ"
โดย สินธูน้อย
หน้า 157
เขียนว่า...ท่านกล่าวว่า
1. เปนนักเลงสุรา
2. ชอบเที่ยวกลางคืน
3. ดูการเล่น
4. นักเลงเจ้าชู้
5. การพนัน
6. คบคนชั่ว
7. รังเกียจการงาน
"ตอ ตำ ตา แตก"
โดย วุฒิปรีชา
หน้า 158
เขียนว่า...
อัก์ขิ ภินโน ปโฏ นัฏโฐ สึข เคเห จ กัณฑนัง
อุภโต ปทุ์ฏฐ กัม์มัน์ตา อุทกัมหิ ถลัมหิ จ"
"พระบรมราชามหาจักรพรรดิ อาเล็กซานเดอร์ กับขโมย"
โดย ลออง
หน้า 162
เป็นบทสนทนาเกี่ยวกับความชั่วร้ายระหว่างขโมยกับอาเล็กซานเดอร์ ว่าใครชั่วร้ายกว่ากัน
"ยิ่งมีปัญญา ยิ่งมีท่าจะเสียตัว"
โดย นายเจริญ ชั้น ๓
หน้า 165
เป็นจดหมายของนักเรียนคนหนึ่งที่คุณพ่อส่งมาเรียนที่อัสสัมชัญ แต่บุตรนั้นกลับสนใจภาษาต่างประเทศมากกว่าภาษาไทย จึงเขียนจดหมายตักเตือนบุตรชายให้เห็นคุณค่าของภาษาไทย
"เขาเล่าว่า"
โดยชาลี
หน้า 168
เล่า...มีโรงขนมปังโรงหนึ่ง เขาเอาขี้เลื่อยมาทำออกขายวันละสองหมื่นปอนด์ทุก ๆ วัน
"มิสเตอร์เฮนรี เอลีอองไสก"
หน้า 168
เล่าเรื่องของชาวอเมริกัน ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังกระบวนว่ายน้ำ
"ห้างบองมาเช ในกรุงปารีส"
หน้า 168
เล่าว่า...ถ้าใครไปกรุงปารีส ขออย่าลืมแวะเข้าไปชมห้างนั้นบ้าง
"เรื่อง วัว ที่เมืองเบลเยียม"
หน้า 168
เล่าว่า...ถ้าวัวอายุ ๓ เดือนแล้ว เจ้าของก็ต้องหาตุ้มหูใส่ให้
"เรื่อง แมว"
หน้า 168
เล่าว่า...ถึงแม้กำลังหลับ จมูกก็ยังจับกลิ่นได้ดี ๆ เสมอ
"ยางต้นกล้วย"
โดย บัณฑุ ผลิกะกิเลน
หน้า 170
เขียนว่า...ได้คัดเรื่องจากจดหมายเหตุ The over seas Daily Mail ส่งมาเปนเรื่องกล่าวถึง ยางู ซึ่งเปนของหาไม่ยาก มีทั่วไปในเมืองเรา คือ ยางต้นกล้วย ๆ นี้ จะมีคุณสมบัติอะไรก็ตาม แต่จดหมายเหตุที่คัดมานั้น แสดงให้เห็นว่า...มีคุณสมบัติอันหนึ่ง ซึ่งทำลายพิษงูร้ายได้ ตามตำราที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ มิสเตอร์ พ.ท. เวศตอน อยู่เมืองมัตโตกรอสโซ ในประเทศบราซิล อเมริกา ได้กล่าวยืนยันเปนพยานไว้
"คำพิพากษาของพระเจ้า เมเนลิก"
โดย ทัศน์
หน้า 170
เขียนว่า... พระเจ้าเมเนลิกพระราชาแห่งประเทศ อาบีซินีย์ ทรงเคยแสดงพระองค์ที่จะตัดสินอัดถคดีของประชาชนบางเรื่องให้ถูกต้องตามความยุติธรรมได้ ดังพระเจ้าซาโลมอนเคยทรงตัดสินไว้แต่ครั้งโน้น
"อัคคีภัย ที่บางรัก"
โดย กุมารน้อย
หน้า 173
เขียนว่า...เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ.2457(1914) เวลาเย็นประมาณ 3 โมงเศษ อัคคีภัยได้เกิดขึ้นที่เรือนหลังหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่หลังที่ว่าการอำเภอบางรัก อันตั้งอยู่ในตำบลบ้านทวาย เยื้องบริษัทเรือเมล์จีนตรงข้ามไฟไหม้สองฟากถนน ตลอดถึงโรงบ่อน (ข้อมูลเหมือนกันทั้ง 3 ภาษา)
"พระมารีอาเปนที่พึ่ง"
โดย น.ป.ย.
หน้า 179
"ขอ ประนม ประนต น้อม บทศรี
ขอบ จิตร แม่ มารีย์ เลิศล้ำ
จิตร ท่าน คิด อารีย์ ช่วย ทุกข์ เรา แฮ
ท่าน จุ่ง ชู ช่วย ค้ำ ศุข เกื้อ เมื่อ เหงา"
โคลงทาย โดยว่าที่ศรีปราชญ์
หน้า 181
เป็นปริศนาที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทโคลง
"มุขตลก ระหว่างนายห้างกับคนของาน"
โดย เศษกระดาษ
หน้า 182
เขียนมุขประมาณว่า...นายห้างสัมภาษณ์คนของานว่า หากคนของงานทำเครื่องแก้วในร้านแตกจะทำอย่างไร???
เกมส์ปริศนาอักษร "ปฤษณา"
โดย พลเรือน
หน้า 183
เขียนว่า...จงบรรจุอักษรเหล่านี้ ก, อุ, ร, ณ, ษ, ร, โ, หิ, ษ, อุ, ร, วิ, ศ, ฆ, จ, โ. ลงในตารางให้จงครบ ตามตาทะแยงที่มีเครื่องหมาย (X) นั้นต้องอ่านให้ได้ซื้อหนังสือคณะหนึ่ง บรรทัดหนึ่งให้ได้ราชาศัพท์ที่สองเปนชื่อหนังสือคณะหนึ่ง ที่สามว่ารุ่งเรือง ที่สี่เป็นมงกุฎ
ข่าวจดหมาย
หน้า 184
มีดังนี้
จากราชบุรี (ป.) เขียนว่า...ด้วยโรงเรียนทาร์สีซีโอ ของคุณพ่อการ์ตองได้ยกเลื่อนไปอยู่ที่บางนกแขวกแล้ว คืออยู่กับโรงเรียนแม่พระมหาไชย กระผมก็ได้ไปอยู่ที่บางนกแขวกด้วยเหมือนกัน
จากกรุงเทพฯ (ก.) เขียนว่า...ได้รับหนังสือพิมพ์โรงเรียนแล้ว อ่านออกรสดี แต่ไม่ค่อยเข้าใจภาษาฝรั่งเศษ อยากอ่านโคลงที่โรงเรียนแต่ง ขออนุเคราะห์หา "ดิกชันารี" ภาษาฝรั่งเศษแปลเปนอังกฤษฝากมาให้ผม
จะเปนพระเดชพระคุณมาก
จากกรุงเทพฯ (น.ร.ช.) เขียนว่า...ตามที่ท่านได้มีความกรุณาส่งหนังสืออุโฆษสมัยมาให้ข้าพเจ้า 1 เล่ม ซึ่งเปนครั้งแรก ที่เพิ่งมีขึ้นในโรงเรียนนี้ สำหรับชักจูงบรรดาศิษย์ทั้งหลายของโรงเรียนนี้ เมื่อข้าพเจ้าได้รับหนังสืออุโฆษสมัยนี้แล้วกระผมให้มีความยินดีคิดเห็นชอบด้วย ข้าพเจ้าขอส่งค่าบำรุงสำหรับหนังสือนี้ ประจำปีมาด้วยแล้วเปนเงิน 3 บาทถ้วน
จากกรุงเทพฯ (จ.ป.) เขียนว่า...ด้วยกระผมได้จัดส่งเรื่องโจ๊กมาให้ 1 เรื่อง ดังได้สอดซองมาด้วยแล้ว
จากเชียงใหม่ (ก.น.) เขียนว่า...หนังสืออุโฆษสมัยประจำเดือนเมษายนกับอัสสัมชัญ "แอลบั้ม" ได้รับแล้ว โดยรู้ขอบใจท่านเจษฏาจารย์ แลนักเรียนทั้งหลายเปนอย่างยิ่ง
"ตำนานพระรังสิต"
โดย วุฒเครา
หน้า 187
เขียนว่า...พระรังสิตพาบุตรขายสององค์กับมเหษีหนีพวกขบถ ต่างองค์ต่างพลัดกันที่ลำแม่น้ำใหญ่ พรานปลาพาเอาพระกุมารไปข้างหนึ่ง นายสำเภาเอามเหษีไปข้างอื่น ชาวกุรุรทีเชิญพระองค์ไปครองเมือง (ย่อจากความเดิม)
ข่าวเบ็ดเตล็ด
หน้า 195
ข่าวกลับไปนอก เขียนว่า...ภราเทอร์ เทวฟิล ครูสอนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศษที่โรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ และที่โรงเรียนมาริยาลัย จันทบุรี รวม 2 แห่ง เปนเวลาประมาณ 6 ปี ได้รับคำสั่งจากหัวหน้าภราเทอร์เซนต์คาเบรียลให้กลับไปเมืองนอก ตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ (ข้อมูลเหมือนกันทั้ง 3 ภาษา)
ข่าวอัสสัมชัญยังแม็น เขียนว่า... เมื่อวันที่ 2ุ1 กุมภาพันธ์ คณะอัสสัมชัญยังแม็นได้ประชุมเลือกเลาขานุการใหม่ มิสเตอร์กาโลศอันโตเนียวเปนผู้ได้ถูกเลือก (ข้อมูลเหมือนกันทั้ง 3 ภาษา)
ข่าวเพลิงไหม้ เขียนว่า... เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ได้เกิดเพลิงไหม้ใหญ่ที่ตรอกเชียงกงสามเพ็ง
ข่าวสนามฟุตบอล เขียนว่า... เมื่อวันที่ ๒๗ มิมา (มิถุนายน) ท่านเจษฏาจารย์หลายองค์ มีท่านภรเทอร์โรเกชั่น ครูฟุตบอลโรงเรียนอัสสัมชัญเปนต้น ได้ออกไปวัดที่สำหรับฟุตบอลใหม่ที่ทุ่งนาหน้าโรงพยาบาลเซนต์หลุย (ข้อมูลเหมือนกันทั้ง ๓ ภาษา)
ข่าวไปฮงกง (ฮ่องกง) เขียนว่า...คุณพ่อโรมิเยอ ซึ่งเดิมเปนผู้บังคับการโรงพิมพ์อัสสัมชัญ และเปนผู้ได้ริเริ่มสร้างตัวหนังสือไทยใหม่ๆ ให้งดงามสำหรับพิมพ์หนังสือดรุณศึกษา
และหนังสืออัสสัมชัญอุโฆษสมัย บัดนี้ได้เลื่อนขั้นเปนผู้อำนวยการโรงพิมพ์นาซาเรธ ที่เมืองฮ่องกง
ข่าวเพลิงบางรัก เขียนว่า...วันที่ ๒๒ เมษายน ได้เกิดเพลิงไหม้ที่บางรัก (ข้อมูลเหมือนกันทั้ง ๓ ภาษา)
ข่าวบาดหลวงใหม่ เขียนว่า...ชื่อคุณพ่อกะวะเยได้มาถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม บัดนี้เธอกำลังเรียนภาษาไทยอยู่
ข่าวตาย
หน้า 197
นายชิด (ฮกเฮง) เลขประจำตัว 1375 รับราชการ ได้ข่าวว่า...ตกหลังม้า เปนแผลบอบช้ำถึงเครื่องใน รักษาเท่าไหร่ก็ไม่ทุเลา พอวันที่ 1 มีนาคม 1914 ท่านก็ถึงแก่ความตาย ที่บ้านบิดามารดา ในปากคลองบางกอกน้อย อายุ 23 ปี
มิสเตอร์ วิกเตอริโน ซิเกรา เลขประจำตัว 369 เดิมเปนเสมียนตามห้างในกรุงเทพฯ ภายหลังได้ไปอยู่ฮ่องกง ได้ข่าวว่าเปนโรคปัจจุบัน ถึงแก่ความตายที่เมืองฮ่องกง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 1914
นายซุ่นฮง เลขประจำตัว 664 เปนเสมียนอยู่ที่ห้างบอเนียวกว่า 10 ปีมาแล้ว เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1914 ตอนบ่ายคราวเลิกออฟฟิศ ท่านขี่รถมอเตอร์ไซกลับบ้านก็บังเอินมาโดนรถรางที่ปรากตรอกบอเนียว เปนแผลฉกรรจ์ ถึงแก่อนิจกรรม อายุท่านเมื่อเสียนั้น 33 ปี
นายดาวิด สงัด เลขประจำตัว 1293 ทราบว่าถึงแก่ความตายที่บ้านกุฏีจีน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 1914 แล้ว
มิสเตอร์ตอมนิกอเล เลขประจำตัว 220 เคยรับราชการในกรมศุลกากรกว่า 15 ปี ครั้นมาวันที่ 2พฤศภาคม บังเอินท่านได้รู้สึกวิงเวียนศีรษะจนสลบไป ฟื้นขึ้นมาได้บ้างสักครู่เดียวพอให้คุณพ่อกอลำเบต์โปรดศีล แล้วท่านก็ได้ถึงแก่ความตายในคืนวันนั้นเอง
นายองละ เลขประจำตัว 3410 อายุ 12 ปี เปนนักเรียนมาจากนครลำปาง เมื่อเดือนเมษายน1914 ผู้ปกครองลาเขาไปบวชที่บ้าน ก็บังเอินยังไม่ทันบวชตามประสงค์ นักเรียนองละได้จับไข้ป่าไม่กี่วันก็ถึงแก่อนิจกรรม ที่เมืองนครลำปาง
จีนไช้ขี่ อายุ 19 ปี เลขประจำตัว 3376 เปนจีนนอกมาโรงเรียนไม่สู้นาน ทราบว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ได้เปนโรคอหิวาคืนเดียว ถึงแก่ความตาย
จีนอาฝุ่น เลขประจำตัว 3062 เปนเด็กชาวกวางตุ้ง พึงเข้าเรียนได้ปีเดียวทราบว่าได้เปนไข้ถึงแก่ความตายที่บ้านบิดา มารดา เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1914
ข่าวฟุตบอล
หน้า 201
เขียนว่า...ได้มีการเล่นฟุตบอลระหว่างตีมอัสสัมชัญกับคฤศเตียน ข้างฝ่ายเราแพ้ 2 เกม ถานเตือนสติว่า...ข้างเราอย่าได้ประมาทเผอเรอเท่านั้น
จัดทำข้อมูลโดย อาสาสมัครช่วยอ่านเอกสาร