AssumptionPride 02
นรบดินทร์ อนุตรพร 53849 AC134
ก็เอาตรง ๆ เลยก็คือ Queer = ตุ้ดค่ะ
[Thanawin Punrut แจ้งว่า Queer ≠ ตุ๊ด แต่ตุ๊ดเป็นสับเซตของ Queer]
< คิดว่าบทบาทชาว LGBTQ+ ในโรงเรียนอัสสัมชัญเป็นยังไงบ้าง >
ต้องขอออกตัวก่อนเลยว่า เราเป็นเด็กใหม่ที่ย้ายมาจากโรงเรียนอื่น เข้ามาตอน ม.1 ด้วยความที่มาจากโรงเรียนชาย - หญิง สังคมที่นั่นของ LGBTQ+ ค่อนข้างได้การยอมรับมาก ถ้าเทียบง่าย ๆ เลยนะ ก็เป็นตัวชูโรง ลูกรักประมาณนั้น เเต่พอย้ายเข้ามา เราไม่รู้เลยว่าด้วยความที่เป็นชายล้วน เขาจะรับได้ไหม เราจึงเลือกปกปิดอยู่หนึ่งปี เหมือนศึกษาตลาดอ่ะค่ะ เเล้วพอขึ้น ม.2 เราเเน่ใจเเล้วว่าเพื่อนรับได้ที่นี้เราก็ค่อยเปิดตัวออกมา
< แล้วเพื่อนว่ายังไงบ้าง โดนแกล้งบ้างมั๊ย >
หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า เด็กไม่ดีมักจะเเกล้งพวกเราเราจึงต้องไปอยู่กับพวกเด็กเนิร์ด เเต่ความจริงเเล้วมันกลับกันมาก ๆ ถามว่าพวกนั้นก็มีเเกล้งเราเป็นเรื่องปกตินะ เเต่เพราะความเอ็นดู ตลอดระยะเวลาหกปีในโรงเรียนถ้าไม้นับ LGBTQ+ ด้วยกันเอง ก็มีพวกนี้เเหละ ที่ไม่เคยเหยียดเราเลยเเม้เเต่นิดเดียว พร้อมปกป้องเราด้วยซ้ำ
จำเหตุการณ์นึงได้ขึ้นใจเลย คือมีรุ่นน้องที่ห้าว ๆ มาหาเรื่องเรา เเล้วคิดว่าเราไม่กล้าทำอะไร เราก็เลยไปเล่าให้หัวโจกที่เป็นเพื่อนที่สนิทของเราฟัง รุ่นน้องคนนั้นโดนพวกรุ่นเราเกือบ 20 คน เช็คกันไปตามระเบียบ จนน้องมันต้องมาขอโทษเราในภายหลัง
< แล้วเพื่อนสาวในกลุ่มเราหล่ะ เป็นยังไง >
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชีวิตเราจะไม่มีความสุขเลยถ้าขาดเพื่อนกลุ่มนี้ไป “มีสุขร่วมเสพ มีทุกข์ร่วมต้าน” เเก๊งพวกเรามีกัน 9 - 10 คน มีทั้งสายวิทย์ - ศิลป์, เรื่องการเรียนเป็นอะไรที่ขึ้นชื่อมาก ถ้าใครมีปัญหาเรื่องการเรียนปุ้ป พวกเราจะช่วยกันทันที เพราะอย่าลืมว่าเเก๊งค์เรามาจากสายวิทย์กันก็เกือบครึ่งเเก๊ง ส่วนถ้าฝั่งนั้นมีปัญหาด้านศิลปะ เราก็จะรับหน้าที่ช่วยเหลือกันมา จนกระทั่งปัจจุบันเราก็ยังคง Support กันตลอดเวลา
< รุ่นพี่ รุ่นน้องหล่ะ สนิทไหม >
LGBTQ+ มันมีอยู่ในทุกรุ่น พวกเรารักเเละสนิทกันจนบางทีก็เหมือนเพื่อนกันไปเลย เราต่างจะให้คำเเนะนำกัน เช่น การเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัย, คุยกันเรื่องข้อสอบว่าวิชานี้ยากไหม เเต่ไฮไลท์ของทุกปีคือ ทุกเปิดปีการศึกษาเราจะมาคุยกันว่ามีน้อง ๆ รุ่นใหม่เข้ามา มีใครบ้าง ? เเละเเน่นอนพอเราเลื่อนชั้นเราก็จะต้องเจอครูใหม่ พวกเราก็จะคอยสอบถามว่าเออ คนนี้ดีไหมอะไรยังไง
< มาถึงครูกันบ้าง ครูในโรงเรียนมองพวกเราเป็นยังไง คิดว่าเขาปฏิบัติกับพวกเราแตกต่างจากคนอื่นไหม >
คุณครู ขอเเบ่งเป็นสองส่วน หัวโบราณ vs สมัยใหม่
หัวโบราณ (โดยเฉพาะฝ่ายววิชาการ) เป็นอะไรที่หน้าเบื่อที่สุด, ชอบกัดพวกเรา, ชอบหาเรื่องพวกหนูตลอดเวลา, บางทีอยากจะถามว่าเเบบ มึงว่างมากใช่ไหมเอ่ย ? คอยจับผิดตลอดเวลา เเบบบางทีเรื่องกางเกงอ่ะ กางเกงเรายาวนะเเต่เเม่งบอกว่าสั้น เเต่อีพวกผู้ชายที่เดินผ่านมาบ๊อกเซอร์โผล่มาจนจะเเทนกางเกงนักเรียนอยู่เเล้วก็ไม่จับ
หลายครั้งที่พวกเรากรี๊ดใส่หน้าให้รู้ว่า กูรำคาญ เเละก็เช่นกันค่ะ หลายครั้งที่ เรา เอา คืน !. อีพวกนี้ชอบจับเราเข้าปกครอง เเต่ทำอะไรดิฉันไม่ได้หรอกค่ะซิส เพราะห้องปกครองชั้นเป็นคนพิมพ์เอกสารให้ ครูห้องปกครองเเม้กระทั่งหัวหน้าฝ่ายฯ ยังนั่งกินกาเเฟที่โซฟาสีดำมาเเล้วด้วยกันเลยค่ะ สนิทมากค่ะหล่อนไม่สามารถทำอะไรได้
มีเหตุการณ์นึงค่ะ พวกชั้นทั้งรุ่นนั่งทานข้าวกันอยู่ที่โรงอาหาร มีครูสนับสนุน (บุคลากรของโรงเรียนที่ไม่ได้สอนหนังสือ) เดินมาพร้อมจับหัวเพื่อนชั้นเเล้วพูดว่าเนี่ยผมยาวบลา ๆ ๆ ซึ่งเสียงน่ารำคาญมาก พวกเราก็พยายามเเสดงออกให้เห็นว่านี่มันเวลาพัก เลิกยุ่งกับกูได้ไหม กูจะกินข้าว เขาก็ไม่ไปสิ่งที่เราทำได้คือหยิบขวดน้ำมาเเล้วสวด ยะถา...... พร้อมกันทั้งโต้ะ นาง งง ค่ะ งงเป็นไก่ตาเเตกเลย เเล้วนางก็จากไปเเละไม่มายุ่งกับพวกดิฉันอีกเลย
< มีครูไม่ดีก็ต้องมีครูดี เล่าเรื่องครูดีให้ฟังหน่อย >
LGBTQ+ ส่วนใหญ่จะเรียกครูพวกนั้นว่า (ในกรณีที่เป็นผู้หญิง) เจ้ เเม่ ซิส. มิสพวกนี้เป็นอะไรที่เราเคารพนับถือมาก ๆ ปัจจุบันสนิทกันก็หลายคน ไปเที่ยวด้วยกันก็มี (ร้านเหล้า) เเต่ถ้าในเคสนี้จะเป็นพวกที่ทำงานใหม่ เราจะสนิทกับเหมือนพี่สาว น้องสาวมากกว่า พวกเขารัก เเละซัพพอร์ตเราอย่างเต็มที่ในทุกๆทาง เราก็ซัพพอร์ตเขากลับเหมือนกันเช่น ตั้งใจเรียน บังคับให้เพื่อนส่งงาน ช่วยถือของบลา ๆ
ถัดมาในบท “เเม่” ครูที่มีอายุการทำงานเพิ่มขึ้น พวกเราทุกคนจะรู้กันเลยว่า มีขอบเขตในการเล่น เเม่ ๆ ทั้งหลายพร้อมที่จะซัพพอร์ตพวกเราเต็มที่ บางทีเราก็เหมือนเเม่ลูกกันจริง ๆ เลย จำได้ว่าวันที่เราติดมหาวิทยาลัย + เรียนจบ, เราไปบอกมิสหนึ่งคนที่เรานับถือมาก ๆ พวกเราต่างคนต่างร้องไห้กัน กอดกัน เขาเอ็นดูพวกเราเหมือนลูกคนนึงจริง ๆ ไม่เคยอคติเราเลยซักนิด “ถูกก็ว่าไปตามถูก ผิดก็ว่าไปตามผิด” มีคำเเค่คำเดียวที่จะมอบให้บุคคลเหล่านี้คือคำว่า “ขอบคุณค่ะ”
< ยังงี้ก็พอจะแปลได้ว่า พวกหนูก็ได้รับการยอมรับกันอยู่ใช่ปะ >
เริ่มได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้นเเล้ว เเต่พวกรุ่นหนูก็สู้กันพอสมควร พวกเรามักจะเป็นที่รักของครู จนถึงพี่ ๆ พนักงานทุกท่าน เพราะฉะนั้นบทบาท ค่อนข้างเยอะ และกว้างขวาง
< เอกลักษณ์ของ LGBTQ+ อัสสัมชัญ >
นอกจากกางเกงน้ำเงินเเล้ว เราว่าความสนิทของพวกเราหลาย ๆ รุ่น อย่างเราก็สนิทกับพี่ ๆ ที่ห่างกับเรา 10 ปี ห่างกันขนาดนี้คือไม่น่ารู้จักกันนะ เเต่พอมาทำชมรมต่าง ๆ ก็รู้จัก เเละสนิทกันเฉย
เสื้อกันหนาว เป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่เรียกได้ว่าประจำกาย บางคนก็จะมาในรูปเเบบเเจ็คเก็ค หรือ สเว็ทเตอร์ปกติ เลเวลสูงขึ้นมาหน่อยก็ผ้าพันคอ (HERMES) เเต่สำหรับดิฉันเเล้วของเลือกเสื้อโค้ตเท่านั้นค่ะ เพราะนอกจะเเฟชั่นเเล้ว มันสามารถห่มได้ หลาย ๆ ครั้งที่โดนยึด เเต่ไม่เเคร์ค่ะ เพราะเรามีมากกว่าหนึ่งตัวเสมอ
กระเป๋า ส่วนใหญ่ถ้าเริ่มเเหกกฎก็จะเป็นเเค่ถุงผ้า ประหนึ่งเด็กคอนเเวนต์ผู้น่ารัก เเต่ถ้าเป็นพี่ ๆ ม.6 หล่ะก็ ขนมาทุกเเบรนด์ชั้นนำของโลก มีทั้ง LV ,PRADA, GUCCI ลามไปจนถึง CHANEL ทำความเข้าใจก่อนว่าพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้จะอวดรวย เเต่พวกเขามีความคิดที่ว่า ชอบของสวย ๆ งาม ๆ เลิกเรียนไปเดินสยามชั้นจะไม่ยอมสะพายเป้หรอกค่ะ มันไม่เก๋เลย
เสียงที่สามารถบอกตำเเหน่งได้ว่าที่ไหนมี LGBTQ+
ไม่ใช่เเค่เสียงกรี๊ดที่ทุกคนคาดคิด เเต่มันรวมถึงจริตการ โพรนาวซีเอขชั่นนนน
ยกตัวอย่างให้ฟัง ตอนนั้นอยู่ประมาณ ม.3 พักกลางวันพวกเรานั่งอยู่ที่เเคนทีน ประจวบกับเป็นช่วงเเรก ๆ ที่มีไอติมหลากรสชาติเข้ามาขาย
รุ่นน้อง A : มึง ๆ ไอติมอันนี้มันรสอะไรวะ
รุ่นน้อง B : มึงก็ชิมดิ
รุ่นน้อง A : (ชิม เเละพูดขึ้นมาด้วยสำเนียงบริทิชเสียงดังว่า) อ่อออ ชีส เค้กกกกกก
นี่ก็คืออีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่เป็นเสียงโดดเด่น
Privilege ในเวลาเข้ามหาวิทยาลัยเเล้ว รู้ว่าเรารู้จักกับรุ่นพี่ผู้ชายคนดัง
อย่างตัวเราเองจะค่อนข้างรู้จักกับผู้ชายคนดังเยอะ เวลามีเพื่อนกรี๊ด ๆ พวกนั้น เราก็จะเเบบ โอ้ยยกูเห็นเขาถอดเสื้อใส่บ๊อกเซอร์เล่นบาสฯมาตั้งนานละ
< อยากฝากอะไรถึงรุ่นน้องบ้างไหม >
“วางตัวให้ดี มารยาท กาลเทศะ”
สำคัญมากเรื่องนี้มาก ๆ เรามักจะสอนเด็กเสมอมาว่าให้มีความอ่อนน้อมถ่อมตนกับทุกคน เเต่ถ้าเขามาล้ำเส้นพวกเราก็ต้องอย่ายอม เพราะเรามีสิทธิ์เท่าเทียมกับคนปกติ เพราะฉะนั้นอย่ายอม อะไรที่คิดว่ามันไม่ใช่ก็ต้องสู้ (มุกว่ามันไม่เเฟร์) ทำอะไรก็ให้รู้เวลา รู้สถานะ อาจจะดูหัวโบราณนิดนึง เเต่น้อง ๆ ควรจะรู้จักหน้าที่ของตัวเองกันว่า ตอนนี้เป็นนักเรียน สิ่งที่ต้องทำคืออะไร เราสนุกได้เเต่ต้องรู้จักลิมิต ไม่ใช่ทุกคนที่จะเอ็นดูเรา
< อยากบอกอะไรไหม อะไรก็ได้ >
เราไม่รู้ว่าข้อนี้จะถูกบันทึกลงไปไหม เเต่อยากให้ทุกคนได้รับรู้จริง ๆ
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสิ่งเเวดล้อมที่ดีที่หล่อหลอม ให้เราเป็นเรามาจนถึงทุกวันนี้
ขอบคุณเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ รวมถึงบุคลากรทุกท่านที่ซัพพอร์ตเรามาโดยตลอด
ในอนาคต อยากจะเห็นการยอมรับที่มันมากขึ้น ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องมีกฎที่เอื้อเฟื้อ เช่นให้เเต่งหน้าได้บลา ๆ ๆ เเต่อยากเห็นการยอมรับที่มันมากขึ้นกว่านี้ ไม่ใช่เเค่จากคุณครู เเต่รวมถึงทัศนคติของผู้บริหารหลาย ๆ ท่าน พวกเรามีความสามารถกันก็เยอะ สร้างชื่อเสียงให้ก็เยอะ เเต่กลับไม่ได้ถูกชื่นชมเหมือนคนปกติทั่วไป เพียงเพราะเราไม่ได้เป็นเพศปกติ โรงเรียนนี้มักจะสอนว่าให้เป็นลูกผู้ชาย AC คำว่าลูกผู้ชายของคุณมันวัดที่อะไรกันเเน่? เราไม่เคยทำให้โรงเรียนเสื่อมเสียเลยเเม่เเต่ซักครั้ง มีเเต่สร้างชื่อเสียง คอยสนับสนุน เเละร่วมกิจกรรมด้วยซ้ำ ซึ่งน่าเสียดายคุณกลับมองว่าพวกเราทำให้โรงเรียนเสียชื่อเสียง เพียงเพราะมีคำว่า “ชายล้วน” ครอบกรอบความคิดไว้
ถ้าลองคิดดี ๆ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ในพิธีไหว้ครู ตัวเเทนในการทำพานพวกเราจะถูกเรียกไปเป็นอันดับเเรก ๆ เพราะเรามีความสามารถด้านนี้ กดดันเราให้ทำพานชนะระดับอื่นตลอด ซึ่งเราก็ทำได้ทุกครั้ง เเต่พอเวลาเอาตัวเเทนไปถือ กลับเอานักเรียนที่ไม่ได้ทำอะไรเลยเเม้เเต่น้อย (เพราะว่าเขาเป็นผู้ชาย) เวลาถ่ายรูปรับรางวัลครูก็เเทบจะเอาหน้า ไม่ให้คนที่สร้างผลงานมาถ่ายรูปด้วยซ้ำ ทุเรศ.
< ยกตัวอย่างคำว่า “สุภาพบุรุษอัสสัมชัญ” เราติดใจหรือมีปัญหากับคำนี้รึเปล่า >
ไม่มีนะพี่ แค่อยากให้โรงเรียนนิยามคำว่า “สุภาพบุรุษอัสสัมชัญ” ในแนวทางใหม่
< เดี๋ยวนี้มันเป็นยังไง พี่คิดว่า แนวทางสมัยพี่กับสมัยนี้ก็ไม่เหมือนกันอีก >
"สุภาพบุรุษอัสสัมชัญต้องมีวินัย
สุภาพบุรุษอัสสัมชัญต้องเรียนเก่ง
สุภาพบุรุษอัสสัมชัญไม่ทะเลาะเบาะแว้ง
สุภาพบุรุษอัสสัมชัญต้องสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน"
(very disgusting)
"สุภาพบุรุษอัสสัมชัญ" เป็นคำที่ได้ยินบ่อยมาก ๆ จากครูที่มีอายุการทำงานมาเยอะ (เเละส่วนใหญ่ก็จะมีความคิดเหยียด LGBTQ+) มักจะกรอกหูเด็กด้วยคำนี้ตลอดเวลา ก็จะพยายามเเปลความหมายให้มันดูดี เเต่เเท้จริงเเล้วบุคคลเหล่านี้กลับเหยียดเพศ เเล้วก็พยายามกลั่นเเกล้งเพศทางเลือกด้วยซ้ำ "ช่างกล้าที่จะสอนเด็กนะคะ"
เเล้วในทางกลับกันหละ LGBTQ+ ในโรงเรียนกลับไม่ได้การยอมรับเลย ทำดีเเทบตาย ช่วยเหลือคน ไม่เคยมีคดีทะเลาะวิวาทเลย (เคยเห็นเด็กอัสสัมไปตบใครไหมละ?) พวกเราไม่เคยถูกได้รับคำชมเหมือนผู้ชายที่ได้คำว่า "สุภาพบุรุษอัสสัมชัญ"
โรงเรียนนี้มอบความสุขให้พวกเรา เเต่ก็สร้างบาดเเผลทางจิตใจไม่ใช่น้อยเลย พวกเราต้องทนเจ็บใจมาก็หลายครั้ง โดนหลาย ๆ ท่านใส่ร้ายเพื่อที่จะเอาหน้าก็หลายครั้ง ถ้าไม่มีบุคลากรที่เข้าใจเรา ไม่มีคุณป้าเเม่บ้านที่คอยโอบกอดเราในวันที่เราโดนทำร้ายจากหลาย ๆ ท่าน เราว่าเราคงไม่ทนจนเรียนจบหรอกค่ะ
“พวกเราต้อง เข้มเเข็งมาก พวกเราต้องอดทนมาก พวกเราต้องพยายามกันมาก”
หวังว่าการสัมภาษณ์นี้จะเกิดประโยชน์ เเละหวังว่าจะมีการเปลี่ยนเเปลงได้ไม่เล็กก็น้อย
< คิดว่าโรงเรียนควรสอนเรื่อง LGBTQ+ ในโรงเรียนมั๊ย >
ควรจะค่ะ เอาวิชาที่ไร้สาระออกไปได้เเล้ว มันไม่ใช่เเค่เรื่องเพศนะ เเต่มันรวมถึงเรื่องสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์เลยเเหละ เพราะในโลกของการทำงานมีหลากหลายเพศ เราคงไม่อยากถูกตีตราว่า โรงเรียนนี้ผลิตบุคคลากรชั้นนำ เเต่ไร้ซึ่งการเคารพต่อเพศสภาพอื่น ๆ. เเล้วถ้าจะให้ดีนะคะควรจะเอาบุคลากรที่เป็น LGBTQ+ มาด้วยซ้ำ หรือถ้าไม่ใช่วิชา ก็อาจจะเป็นการอบรมก็ได้ค่ะ
เชื่อเถอะค่ะว่าโรงเรียนจะถูกยกย่องว่า เราคือโรงเรียนที่ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง
-------------------
ขอขอบคุณ นรบดินทร์ อนุตรพร 53849 AC134
สัมภาษณ์ : 1 มิถุนายน 2021
เผยแพร่ครั้งแรก : 2 มิถุนายน 2021 ในเพจเฟซบุ๊ค Assumption Museum
Art Work : กฤตภาส บัวเสริมสวรรค์ AC130