ทีม SPOROS คว้าอับดับที่ 3 ของโลก ในการแข่งขัน CanSat ไปแข่งทำอะไรบ้าง ???

ผู้เขียน : วัฒภูมิ ทวีกุล
product

❗❓ สงสัยกันไหมว่า ทีม SPOROS จากโรงเรียนอัสสัมชัญ ที่คว้าอับดับที่ 3 ของโลก ในการแข่งขัน CanSat เขาไปแข่งทำอะไรบ้าง ???
 
📌 ประกาศผลกันไปสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อค่ำวันที่ 22 มิถนาุยน 2021 กับการแข่งขัน CanSat Competition 2021 ที่จัดเป็นประจำทุกปีโดย American Astronautical Society (AAS) โดยทีม SPOROS #3751 จากโรงเรียนอัสสัมชัญ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มาครอบครอง ด้วยผลคะแนนรวม 98.59% ตามหลังผู้ชนะเลิศเพียงแค่ 0.59% เท่านั้น
 
แต่ … เอ๊ะ ... ไหนเลยใครจะรู้ว่าน้อง ๆ เรา เขาไปแข่งขันทำอะไรกันบ้างหล่ะ
 
เห็นแต่รางวัล แต่ไม่เห็นความสามารถแบบนี้ เลยเข้าไปค้นเอกสารการแข่งขันสนอง Need ตัวเองสักหน่อย ว่าน้อง ๆ ต้องไปพบเจอกับโจทย์ที่ท้าทายมากเพียงใด
  


 
📌การแข่งขัน CanSat Competition 2021 จากรอบคัดเลือกนับร้อย ๆ ทีม จนเหลือแค่ 30 ทีมในรอบสุดท้าย ซึ่งเป็นหัวกะทิจากทั่วทุกมุมโลก ภารกิจในการแข่งขันปีนี้ คือ Autorotating Science Payload Relay Mission
 
อธิบายความก็คืออออ . . .
 
📌 ให้ออกแบบ CanSat ที่ประกอบไปด้วย container and two autorotating maple seed science payload ที่สามารถหมุนได้ด้วยตัวเองที่มีลักษณะเป็นเมล็ดเมเปิ้ล) พร้อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมาสถานีรับภาคพื้นดิน
 
ใครอ่านแล้วอาจจะยังงง ๆ
เอ๊ะ มันยากตรงไหน หรือมันทำยังไง
ลองมาดูเงื่อนไข และความซับซ้อนในภารกิจนี้กันครับ
 
1⃣ CanSat จะ deployed จากจรวด ที่ความสูงระหว่าง 670 - 725 เมตรเหนือฐานปล่อย ตัว CanSat จะต้องสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการ launch และ deployment ได้
 
2⃣ เมื่อ Deployed เรียบร้อยแล้ว CanSat จะค่อย ๆ ตกลงมาตามแรงดึงดูดของโลกโดยใช้ร่มชูชีพชะลอความเร็วในอัตรา 15 เมตร/วินาที
 
3⃣ เมื่อตกลงมาอยู่ที่ความสูง 500 เมตร, ตัว container จะต้องใช้กลไกด้าน Mechanic ในการปล่อย First autorotating maple seed science payload
 
4⃣ เมื่อตกลงมาอยู่ที่ความสูง 400 เมตร, ตัว container จะต้องใช้กลไกด้าน Mechanic ในการปล่อย Second autorotating maple seed science payload
 
5⃣ ตัว Container จะส่งสัญญาณข้อมูลจาก science payloads และ autorotating maple seed science payload กลับมาสถานีรับภาคพื้นดินเรื่อย ๆ จนกระทั่งแตะพื้นโลก
 
6⃣ ตัว autorotating maple seed science payloads ทั้ง 2, หลังจาก release แล้ว จะใช้ผลประโยชน์จากการออกแบบโครงสร้างทาง Aerodynamics ในการหมุนอย่างเสถียรเพื่อชะลอความเร็วตก และค่อย ๆ ตกลงสู่พื้นโลกที่ความเร็ว 20 เมตร/วินาที และส่งสัญญาณข้อมูลกลับมาทุก ๆ วินาที รวมทั้งข้อมูลความกดอากาศ และอุณหภูมิด้วย การส่งข้อมูลจะต้องทำต่อเนื่องไป 5 นาทีหลัง Release
 
📌 มีข้อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ Telemetry (การส่งสัญาณข้อมูลระยะทางไกล) อีก 6 หน้ากระดาษเต็ม ๆ
 
📌 ห้ามใช้แบตเตอรี่ชนิด lithium polymer เนื่องจากติดไฟง่าย
 
📌 จะต้องผ่าน Environmental Tests อีก 4 ข้อใหญ่ ๆ เช่น ทดสอบความทนทานต่อการตกให้ได้ 30 แรงจี
 
อันนี้คือคร่าว ๆ เท่านั้นครับ ภารกิจจริง ๆ มีรายละเอียดเยอะกว่านี้อีกเยอะ
 
📌 นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดพื้นฐานในการออกแบบอีก 66 ข้อ เช่น
 
- CanSat จะต้องมีน้ำหนักที่ 600 กรัม (+- 10 กรัม)
- ร่มชูชีพจะต้องมีสีส้มเรืองแสง หรือสีชมพูเรืองแสง
- โครงสร้างทั้งหมดต้องสามารถทนแรงจีได้ 15 จี ระหว่าง launch acceleration
- มีค่าใช้จ่าย CanSat (ไม่รวมอุปกรณ์ภาคพื้นดิน) ไมเกิน 1,000 ดอลลาร์ ฯลฯ
- ฯลฯ อีก 62 ข้อ
 
เอาเป็นว่า รวม ๆ แล้วมีโจทย์หนา 41 หน้าให้น้อง ๆ ไขคดีออกมา
  


 
📌 CanSat Competition 2021 ใช้เวลาการแข่งขันทั้งสิ้น 7 เดือน และแบ่งรอบการแข่งขันออกเป็น 4 รอบ
- รอบแรก PDR (Preliminary Design Review)
- รอบที่ 2 CDR (Critical Design Review)
- รอบที่ 3 Environment Test
- รอบที่ 4 Demonstration
 


 
อ่านมาถึงจุดนี้แล้ว อย่าลืมนะครับว่า ทั้งหมดนี้ เด็กมัธยมเป็นคนทำ !!
 
แต่นั่นแหล่ะ คือ ความเจ๋งอีกอย่างหนึ่งของน้อง ๆ
 
📌 การแข่งขัน CanSat Competition นั้น เป็นรายการแข่งขันในระดับ undergraduate education, ไม่ใช่ระดับ secondary education น้อง ๆ จึงเป็นเด็กมัธยมที่เข้าไปแข่งกับเด็กมหาวิทยาลัยทั่วโลก
  


 
ทีม SPOROS โรงเรียนอัสสัมชัญ ประกอบด้วย
1. พชรพล สุจินดาวัฒน์ 51061 AC136
2. วริศนันตร์ รัตนาชัยพงษ์ 49905 AC136
3. ปภพ เลขาปัญญพร 49975 AC136
4. ธัญพิสิษฐ์ กังเสถียร 50879 AC136
5. สิระวุฒิ ชาญถาวรกิจ 50675 AC136
6. ม.ณัฐกิตติ์ ขวัญกิจพิศาล 45000 AC128
7. ม.พชร ภูมิประเทศ
 
อาจารย์ที่ปรึกษา
- รศ.ดร.อศิ บุญจิตราดุลย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดร.พีระเมศร์ โชติกวีกิจญาดา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
 
ทั้งนี้ ได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่อัสสัมชนิก
- ณัฐเมศร์ ศรีปรัชญานันท์ 49844 AC135
- วิวรรษธร ฐิตสิริวิทย์ 49886 AC135
- ภวัต งามดีวิไลศักดิ์ 50120 AC135
 
ขอคุณพ่อกอลมเบต์อวยพรน้อง ๆ ทุกคนครับ


Author: วัฒภูมิ ทวีกุล

อัสสัมชนิกเลขที่ 47985 รุ่น 126